GuestBook ..MOOSO

นาฬิกา

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ภาคเหนือ




อาหารของภาคเหนือ

คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวกันเป็นอาหารหลัก ส่วนกับข้าวก็หาเอาตามท้องทุ่ง และลำน้ำ ทั้งกบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย แมงยูน
จีกุ่ง ( จิ้งหรีดชนิดหนึ่ง )ไก่ หมู และเนื้อ อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสม ที่นำมาทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก จากปลา จากมะเขือส้ม เป็นต้น การทำอาหารก็มักจะให้สุกมาก ๆ เช่นผัดก็จะผัดจนผักนุ่ม ผักต้มก็ต้มจนนุ่ม อาหารส่วนใหญ่จะใช้ผัดกับน้ำมัน แม้แต่ตำขนุน ( ยำขนุน )เมื่อตำเสร็จ ก็ต้องนำมาผัดอีกจึงจะรับประทาน ในปัจจุบันนี้ เนื้อสัตว์ ที่นิยมนำมาทำอาหารจะเป็น หมู ไก่ เนื้อ และปลาตามลำดับ ปลาที่ใช้ในปัจจุบันมีทั้งปลาเลี้ยง และปลา ที่จับจากแม่น้ำลำคลอง อาหารเหนือมีหลายอย่างหลายประเภท อาทิ อุ๊กฮุ่ม คั่ว ปิ้ง/ย่าง/ทอด ตำ/ยำ แกง

1.อุ๊กฮุ่ม

ฮุ่ม เป็นการประกอบอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยหั่นเนื้อเป็นชิ้นโต ปรุงอย่างแกง แล้วเคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ ให้เนื้อนั้นเปื่อยนุ่มและเหลือน้ำแกงเพียงเล็กน้อย เช่น จิ๊นฮุ่ม
อุ๊ก เป็นวิธีการทำอาหารของชาวล้านนาชนิดเดียวกับ "ฮุ่ม" คือเป็นการทำอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ค่อนข้างเหนียว เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ หรือเนื้อเค็มตากแห้ง (ที่เรียกว่า จิ๊นแห้ง) หากใช้เนื้อไก่ จะเรียกว่า อุ๊กไก่ หากใช้เนื้อวัว หรือเนื้อเค็มตากแห้ง จะเรียกว่า จิ๊นฮุ่ม ซึ่งลักษณะของอาหารประเภทนี้ เนื้อจะเปื่อย และมีน้ำขลุกขลิก

2.คั่ว

คั่ว หรือขั้ว ในความหมายทางล้านนา คือการผัด เป็นวิธีการปรุงอาหารที่นำน้ำมันปริมาณเล็กน้อย และใส่กระเทียวลงเจียว แล้วใส่เครื่องปรุงลงไปผัด ใช้ไฟปานกลาง อีกแบบหนึ่งคือคั่วแบบไม่ใส่น้ำมัน เพียงใส่น้ำลงไปเล็กน้อย พอน้ำเดือด จึงนำเครื่องปรุงลงผัด คนจนอาหารสุก และปรุงรสกลิ่นในระหว่างนั้น เช่น คั่วมะเขือถั่วฝักยาว (คั่วบ่าเขือบ่าถั่ว) คั่วลาบ การคั่วเมล็ดพืช เช่น คั่วงา คั่วถั่วลิสง ใช้วิธีคั่วแบบแห้ง คือไม่ใช้ทั้งน้ำและน้ำมัน

3.ปิ้ง/ย่าง/ทอด

ปิ้ง เป็นการนำอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วมาปิ้งเหนือไฟไม่แรงนัก ปิ้งจนสุกเกรียมกรอบ เช่น ปิ้งปลา ปิ้ง ไก่ ปิ้งหมู
ย่าง เป็นการทำอาหาร หรือการทำให้เครื่องปรุงสุก โดยวางสิ่งของนั้นเหนือไฟอ่อนจนสุกตลอดถึงข้างใน อาจใช้เวลาค่อนข้างนาน เช่น การย่างไส้อั่ว
ทอด เป็นการทำให้อาหารสุกด้วยน้ำมัน ตั้งไฟให้ร้อน ใส่อาหารลงทอดให้เหลืองสุกตามที่ต้องการ เช่น การทอดแคบหมู แคบไข ไส้อั่ว

4.แกง

แกง (อ่านว่า แก๋ง) เป็นอาหารประเภทน้ำ ที่มีปริมาณน้ำแกงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับส่วนประกอบต่างๆ ในหม้อ มีวิธีการทำ โดยใส่น้ำ พอ เดือด ใส่เครื่องปรุง แล้วใส่ส่วนประกอบหลักที่ต้องการแกงตามลำดับ บางสูตร นิยมคั่วเครื่องแกงกับน้ำมันเล็กน้อย จนเครื่องแกงและส่วนผสมอื่น เช่น หมู ไก่ จนมีกลิ่นหอมก่อน จึงจะเติมน้ำลงไป และจึงใส่เครื่องปรุงอื่นๆ ตามไป เมื่อน้ำเดือด หรือเมื่อหมู หรือไก่ได้ที่แล้ว เครื่องปรุงหลัก ได้แก่ พริก หอมแดง กระเทียม ปลาร้า กะปิ ถ้าเป็นแกงที่มีเนื้อสัตว์ เป็นเครื่องปรุงด้วย จะใส่ตะไคร้ ขมิ้น เพื่อดับกลิ่นคาว เช่น แกงอ่อมไก่

5.ตำ/ยำ
ตำ (อ่านว่า ต๋ำ)เป็นอาหารประเภทเดียวกับยำ มีวิธีการปรุง โดยนำส่วนผสมต่างๆ พร้อมเครื่องคลุกเคล้ากันในครก เช่น ตำขนุน(ตำบ่าหนุน) ตำมะขาม (ตำบ่าขาม) ส่วนประกอบหลัก ได้แก่ เกลือ กระเทียม หัวหอม พริกแห้งหรือพริกสด กะปิ ถั่วเน่าแข็บ (ถั่วเน่าแผ่น) ปลาร้า ซึ่งทำให้สุกแล้ว
ยำ ใช้กับของที่สุกแล้ว เช่น ยำจิ๊นไก่ ทำด้วยไก่ต้ม ยำผักเฮือด (ผีผักเฮือดนึ่ง) ยำจิ๊นแห้ง (เนื้อต้ม) ปรุงเครื่องยำ หรือเรียกว่า พริกยำ ในน้ำเดือด แล้วนำส่วนผสมที่เป็นเนื้อ หรือผักต้มลงไป คนให้ทั่ว

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ภาคเหนือ


การแต่งกายประจำภาคเหนือ

การแต่งกาย
เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า

ลักษณะการแต่งกาย


1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
3. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด
4. ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน

ภาคเหนือ











ภาษาประจำภาคเหนือ

-ภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย
พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก และ แพร่ และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์อีกด้วย
-นอกจากนี้ คำเมืองเป็นภาษาของคนไท-ยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา และ
อาณาจักรโยนกในอดีต ปัจจุบันกล่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครราชสีมาอีกด้วย
-คำเมืองมีไวยากรณ์เหมือนกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่เดิมได้ใช้ คู่กับ ตั๋วเมือง,ตัวเมือง ซึ่งเป็นตัวอักษรของ อาณาจักรล้านนาที่อักษรมอญใช้เป็นต้นแบบ
-ภาษาเหนือหรือภาษาล้านนาเป็นภาษาย่อยหรือภาษาถิ่นของภาษาไทย ใช้กันในดินแดนล้านนา 8 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
-ความแตกต่างของภาษาพูด (คำเมือง) ระหว่างภาษากลางและภาษาเหนือคือ การใช้คำศัพท์ พยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ต่างกัน
ตัวอย่างเช่น


คำศัพท์ที่ต่างกัน

(ภาษากลาง - ภาษาเหนือ)



1.ยี่สิบ - ซาว 2.ไม่ - บ่ 3.เที่ยว - แอ่ว 4.ดู - ผ่อ 5.สวย - งาม 6.อีก - แหม 7.นาน - เมิน

8.สนุก, ดี, - เพราะ - ม่วน 9.อร่อย - ลำ




วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศของภาคเหนือเต็มไปขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน โดยเฉพาะบริเวณตอนเหนือสุด เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน
และน่าน โดยมีจุดสูงสุดของภาค (และของประเทศ) อยู่ที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และมีเทือกเขาที่สำคํญของภาคเหนืออยู่มาก เช่น
1. เทือกเขาแดนลาว
2. ทิวเขาถนนธงชัย
3. เทือกเขาหลวงพระบาง
4. ทิวขาขุนตาล
5. เทือกเขาผีปั้นน้ำ
6. ทิวเขาดอยภูสอยดาว
แลจังหวัดในภาคเหนือถ้าจะแบ่งตามความคุ้นเคยของชาวไทยจะมีด้วยกัน 9 จังหวัด ดังนี้
เชียงราย (โยนกเชียงแสน)
เชียงใหม่ (นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่)
น่าน(นันทบุรีศรีนครน่าน)
พะเยา (ภูกามยาว)
แพร่ (เวียงโกศัย)
แม่ฮ่องสอน (พุกาม)
ลำปาง (เขลางค์นคร)
ลำพูน (หริภุญชัย)
อุตรดิตถ์ (สวางคบุรี)
จากหลักฐานในโบราณคดีพบว่ามีการแบ่งการปกครองเป็นสองอาณาจักร ดั้งนี้

**ภาคเหนือได้มีการแบ่งทั้ง ภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮองสอน ลำปาง ลำพูน
**ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์

ภาคเหนือ

จูบเย้ยจัทร์

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยวขอนแก่น

อุทยานแห่งชาตภูผาม่าน



ถ้ำค้างคาว
ตั้งอยู่บนภูผาม่าน ห่างจากที่ว่าการอำเภอฯประมาณ 2.5 กม.อยู่บริเวณหน้าผาด้าน หน้าสูงจากระดับพื้นดินประมาณ 100 เมตร เมื่อเข้าใกล้จะได้กลิ่นเหม็นของค้างคาว ปากถ้ำสามารถมอง เห็นแต่ไกล ภายในถ้ำมีค้างคาวขนาดเล็กอาศัยอยู่นับล้านๆตัว ภายในถ้ำมีกลิ่นเหม็นฉุนจัด ทุกวันค้างคาวจะ ออกจากถ้ำในเวลาประมาณ 18.00 น. ตอนบินออกจะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที โดยจะบินออกเป็น กลุ่มยาวนับสิบกม. นักท่องเที่ยวสามารถมานั่งพักผ่อนและชมความอัศจรรย์ของธรรมชาติที่มีค้าง คาวอยู่รวมกันนับล้าน ไปพร้อมกัน

ถ้ำพระ
อยู่ใกล้เคียงกับถ้ำค้างคาว เป็นถ้ำที่มีลักษณะยาวเฉียงขึ้นด้านบนสามารถ เดินทะลุถึงยอดภูผาม่านได้แต่เส้นทาง ค่อนข้างลำบากภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามและมีเสาหินขนาดใหญ่ รถยนต์ สามารถเข้าถึงได้ตลอดทั้งปี แต่เหมาะที่จะท่องเที่ยวในฤดูหนาวเนื่องจากในฤดูฝนมีน้ำไหลผ่านถ้ำทำให้มี ตะไคร่จับก้อนหินได้

โครงการพัฒนาป่าดงลาน 4
ตั้งอยู่ที่บ้านวังสวาบหมู่ 1 ตำบลวังสวาบ ห่างจากที่ว่าการอำเภอฯ ประมาณ 14 กม. ที่นี่เป็นที่ทำการ ของหน่วยงานกรมป่าไม้ บริเวณรอบๆเงียบสงบ อากาศหนาวเย็น มีบ้านพักรับรองแขกได้ประมาณ 30-50 คน นอกจากนั้นยังมีห้องประชุมขนาดย่อม เหมาะสำหรับผู้ที่มา พักผ่อนเป็นหมู่คณะ

ถ้ำภูตาหลอ
ตั้งอยู่ที่บ้านวังสวาบ ห่างจากที่ว่าการอำเภอฯ 17 กม. รถยนต์เข้าถึงได้เฉพาะในฤดูแล้ง เป็นถ้ำที่โอ่งโถง พื้นที่ประมาณไร่เศษ เพดานถ้ำสูงประมาณ 5-7 เมตร มีหินงอกหินย้อยซึ่งยังอยู่ในสภาพที่เป็นธรรมชาติ พื้นถ้ำเป็นดินเรียบอากาศภายในเย็นสบาย หินบางก้อนมีลักษณะคล้ายหินเขี้ยวหนุมาน

น้ำตกตาดฟ้า
เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยตาดฟ้าซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น กับอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ในท้องที่บ้านดงสะคร่าน หมู่ 7 ตำบลวังสวาบ ห่างจาก ที่ว่าการอำเภอฯประมาณ 40 กม. รถสามารถเข้าไปถึงแค่บ้านตาดฟ้า หลังจากนั้นต้องเดินเท้าต่อไป อีกมีน้ำตกทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นที่สวยงามที่สุดคือ ชั้นสุดท้ายซึ่งมีความสูงประมาณ 80 เมตร ฤดูที่น้ำตก ตาดฟ้าจะสวยที่สุดคือฤดูฝน


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

สถานที่ท่องเที่ยว


ปราสาทเปือยน้อย




เทวสถานศิลปะขอมหรือลพบุรีจัดเป็นปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงในแถบอีสานตอนบน แม้ว่าจะมีขนาดที่เล็กกว่าปราสาทหิน
พิมายหรือปราสาทหินเขาพนมรุ้งก็ตาม ลักษณะองค์ปรางค์หันหน้าสู่ทิศตะวันออกสร้างด้วยหินทรายจำหลักลวดยายสวยงาม กำแพงขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบเขตปราสาทสร้างด้วยศิลาแลง





ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

อุทยานแห่งชาติภูเวียง






เมื่อพูดถึงอุทยานแห่งชาติภูเวียงนักท่องเที่ยวก็ต้องนึกถึงไดโนเสาร์ ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่าบริเวณที่ราบสูงที่อยู่ในเขตประเทศไทยปัจจุบันนั้นจะเคยเป็นบ้านของไดโนเสาร์มาก่อนจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2519 มีการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเวียง ระหว่างการสำรวจนักธรณีวิทยาได้ค้นพบซากกระดูกชิ้นหนึ่งเข้า และเมื่อส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสวิจัยผลปรากฏออกมาว่าเป็นกระดูกหัวเข่าข้างซ้ายของไดโนเสาร์ จากนั้นนักสำรวจก็ได้ทำการขุดค้นกันอย่างจริงจังเรื่อยมากระทั่งปัจจุบันบนยอดภูประตูตีหมา หลุมขุดค้นที่ 1 ได้พบฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์หนึ่ง มีลำตัวสูงใหญ่ประมาณ 15 เมตร คอยาว หางยาว เป็นพันธุ์กินพืชซึ่งไม่เคยพบที่ใดมาก่อน จึงได้อัญเชิญพระนามของสมเด็จพระเทพฯมาตั้งชื่อไดโนเสาร์พันธุ์นี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติว่า "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่" (Phuwianggosaurus Sirindhornae) และในบริเวณหลุมขุดค้นเดียวกันนั้นเอง นักสำรวจได้พบฟันของไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อปะปนอยู่มากกว่า 10 ซี่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าโซโรพอดตัวนี้อาจเป็นอาหารของเจ้าของฟันเหล่านี้ แต่ในกลุ่มฟันเหล่านั้นมีอยู่หนึ่งซี่ที่มีลักษณะแตกต่างออกไป เมื่อนำไปศึกษาปรากฏว่าฟันชิ้นนี้เป็นลักษณะฟันไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยค้นพบมาก่อนเช่นกัน จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ นายวราวุธ สุธีธร ว่า "ไซแอมโมซอรัส สุธีธรนี่" (Siamosaurus Suteethorni) ผู้สนใจสามารถเดินไปชมได้ หลุมขุดค้นที่ 1 นั้นอยู่ไม่ไกลจากที่ทำการอุทยาน และยังสามารถเดินไปชมหลุมขุดค้นที่ 2 และ 3 ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงด้วยฟอสซิลของ "ไซแอมโมไทรันนัส อีสานเอ็นซิส" (Siamotyrannus Isanensis) เป็นสิ่งที่ชี้ว่าไดโนเสาร์จำพวกไทรันโนซอร์มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย เพราะฟอสซิลที่พบที่นี่เป็นชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด (120-130 ล้านปี) แต่กระดูกชิ้นนี้ได้นำไปจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในกรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพฯบริเวณหินลาดป่าชาด หลุมขุดค้นที่ 8 พบรอยเท้าไดโนเสาร์จำนวน 68 รอย อายุประมาณ 140 ล้านปี เกือบทั้งหมดเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์เล็กที่สุดในโลกเดิน 2 เท้า แต่หนึ่งในรอยเท้าเหล่านั้นมีขนาดใหญ่ผิดจากรอยอื่น คาดว่าเป็นของคาร์โนซอรัส การไปชมควรเดินทางด้วยรถขับเคลื่อน 4 ล้อใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ห่างจากที่ทำการ 19 กิโลเมตรส่วนฟอสซิลดึกดำบรรพ์อื่นๆที่ขุดพบ เช่น ซากลูกไดโนเสาร์ ซากจระเข้ขนาดเล็ก ซากหอย 150 ล้านปี จะอยู่กระจัดกระจายกันตามหลุมต่างๆความน่าสนใจของที่นี่ไม่ได้มีแต่เพียงไดโนเสาร์เท่านั้น ยังมีการพบร่องรอยอารยธรรมโบราณด้วย โดยพบ "พระพุทธรูปปางไสยาสน์" ประติมากรรมนูนสูงสลักบนหน้าผาของยอดเขาภูเวียง สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 14 ลักษณะท่านอนได้รับอิทธิพลจากอินเดีย พระเศียรหนุนแนบกับต้นแขนขวา แขนซ้ายทอดไปตามลำพระองค์ นอกจากนี้ "ถ้ำฝ่ามือแดง" ที่บ้านหินร่องมีงานศิลปะของมนุษย์ถ้ำโบราณ ลักษณะของภาพเกิดจากการพ่นสีแแดงลงไปในขณะที่มือทาบกับผนังถ้ำก่อให้เกิดเป็นรูปฝ่ามือขึ้นส่วนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในบริเวณอุทยานฯจะมีน้ำตกอยู่สองสามแห่ง "น้ำตกทับพญาเสือ" เป็นน้ำตกเล็กๆ ตั้งอยู่ใกล้กับถ้ำฝ่ามือแดง "น้ำตกตาดฟ้า" เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15 เมตร สามารถเข้าถึงได้ทางรถยนต์ อยู่ห่างจากอำเภอภูเวียง 18 กิโลเมตรและขึ้นเขาไปอีก 6 กิโลเมตร ตรงต่อไปจากน้ำตกตาดฟ้าอีก 5 กิโลเมตร จะถึง "น้ำตกตาดกลาง" สูงประมาณ 8 กม. นอกจากน้ำตกก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวประเภททุ่งหญ้าและลานหิน ซึ่งจะมีดอกไม้ป่านานาพันธุ์บานในช่วงหลังฤดูฝน ได้แก่ "ทุ่งใหญ่เสาอาราม" "หินลาดวัวถ้ำกวาง" และ "หินลาดอ่างกบ"พื้นที่อุทยานฯครอบคลุมอำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู และอำเภอชุมแพ มีพื้นที่ 380 ตารางกิโลเมตรการเดินทาง จากตัวเมืองขอนแก่นใช้เส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) เป็นระยะทาง 48 กิโลเมตร แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2038 เป็นระยะทาง 18 กิโลเมตร ถึงอำเภอภูเวียง แล้วใช้เส้นทางภูเวียง-บ้านเมืองใหม่ ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 23 จะเป็นบริเวณที่เรียกว่า"ปากช่องภูเวียง" ซึ่งมีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูเวียงตั้งอยู่ เดินทางต่อไปจนถึงกิโลเมตรที่ 30 เลี้ยวซ้ายตรงทางเข้าอ่างเก็บน้ำบ้านโพธิ์ เป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเวียงที่ "ภูประตูตีหมา" ภายในอาคารมีการจัดแสดงนิทรรศการและซากกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์ที่ขุดพบบริเวณภูเวียง โดยมีคำอธิบายลักษณะและการเกิดซากต่างๆ เหล่านี้หากประสงค์จะเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการเจ้าหน้าที่นำชม ติดต่อได้ที่สำนักงานอุทยานฯ



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

บึงแก่นนคร


มีลักษณะเป็นบึงขนาดใหญ่ ในเนื้อที่ 603 ไร่ ในเขตเทศบาลกลางเมืองขอนแก่น เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีถนนเลียบริมน้ำโดยรอบ ได้มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณรอบบึงให้เป็นสวนสุขภาพ ภายในสวนบริเวณรอบๆ มีภาพประติมากรรมรูปต่างๆ ทางเทศบาลได้ทำการปลูกต้นคูนและไม้ดัดไว้อีกมากมาย ทำให้ดูร่มรื่นสวยงาม นอกจากนี้ยังมีสนามเด็กเล่นและร้านอาหารบริการผู้มาพักผ่อน
ทางทิศเหนือ ของบึงแก่นนครเป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์ "เจ้าเพียเมืองแพน" ผู้ก่อตั้งเมืองขอนแก่น


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เท่ดี

ประวัติของอินเทอร์เน็ต (Internet)

อินเทอร์เน็ต(Internet)

อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ภารกิจหลักเพื่อใช้ในงานวิจัยทางทหารโดยใช้ชื่อว่า "อาร์ปา" (ARPA : Advanced Research Project Agency)


ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พา ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์ปา มาเป็นดาร์พา (Defence Communication Agency) ในปี 2526 อาร์ปาเน็ตได้แบ่งเป็น 2 เครือข่าย ด้านงานวิจัยใช้ชื่อว่าอาร์ปาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต (MILNET: Military Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เป็นครั้งแรก


ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSF) ได้ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่NSFNET และพอมาถึงในปี 2533 อาร์ปาเนตไม่สามารถ ที่จะรองรับ ภาระที่เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อย มากมายทั่วโลก


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวรจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร" เครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษา และการวิจัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้น ๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ต ให้แก่บุคล ผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า "ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต" หรือ ISP (Internet Service Provider)

น่ารักดี


แทรกรูปภาพ


คุณต้องการคนที่พอดีหรือคนที่ดีพอ

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เรื่องแก้วๆ


แก้ว หมายถึง วัสดุใดๆที่มีโครงสร้างเหมือนของเหลว ที่อุณหภูมิห้องที่มีสภาพไม่ต่างจากของแข็งองค์ประกอบหลักของแก้ว คือ ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) แก้ว Pyrex เป็นแก้วของสหรัฐ แก้ว Duran เป็นแก้วของเยอรมันนีชนิดของแก้วแบ่งตามองค์ประกอบมีดังนี้ 1. แก้วอ่อน (soda lime)
2. แก้วคริสตัล (Lead glass)
3. แก้วโบโรซิลิเกท (Borosilicate)